ดูบทความ
ดูบทความจดทะเบียนธุรกิจ
จดทะเบียนธุรกิจ
หมวดหมู่:
จดทะเบียนธุรกิจ
อัตราค่าบริการ
บริการจดทะเบียน | ค่า บริการ | รายละเอียด | ||
---|---|---|---|---|
จดจัดตั้งบริษัท ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท | 7,900 บาท |
- จดทะเบียนจัดตั้งกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า - จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) - ป้ายบริษัท (ป้าย อะคลิลิค ขนาด 30*120 ซม.) - ตรายาง |
||
จดจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด | 4,900 บาท | - จดทะเบียนจัดตั้งกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า - จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) - ป้ายบริษัท (ป้าย อะคลิลิค ขนาด 30*120 ซม.) - ตรายาง | ||
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
|
2,500 บาท |
- ภ.พ.01 และ ภ.พ.01.1 - ภ.พ.20 |
||
ขึ้นทะเบียนประกันสังคม | 2,500 บาท |
- เลขทะเบียนนายจ้าง - ขึ้นทะเบียน ลูกจ้าง
|
จดทะเบียนแก้ไขรายการอื่นๆ อัตราค่าบริการ สอบถามเพิ่มเติม Tel.092-5551799
จดทะเบียนธุรกิจ
กิจการเจ้าของคนเดียว
คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว ควบคุมการดำเนินเองทั้งหมด เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไร ก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว ในขณะเดียวกันก็ยอมรับการเสี่ยงภัยจากการขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการประเภทนี้มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก ได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นธุรกิจที่เก่าแก่ที่สุด การดำเนินงานไม่สลับซับซ้อน มีความคล่องตัวสูงในการตัดสินใจดำเนินงาน กิจการมีขนาดเล็กกว่า ธุรกิจ ประเภทอื่น ตัวอย่างกิจการประเภทนี้ เช่น หาบเร่แผงลอย ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น
ลักษณะของกิจการเจ้าของคนเดียว
- มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ใช้เงินลงทุนน้อย
- เจ้าของกิจการมีความรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินของเจ้าของได้ ถ้าทรัพย์สินของกิจการไม่เพียงพอชำระหนี้
- เจ้าของกิจการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งผลกำไรและผลขาดทุนเพียงคนเดียว
- การควบคุมการดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการคนเดียว
ข้อดีและข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว
ข้อดี
- จัดตั้งง่ายใช้เงินทุนน้อย
- มีอิสระในการตัดสินใจดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ทำให้เกิดความรวดเร็วคล่องตัวในการ ดำเนินงาน
- ผู้ประกอบการได้รับผลกำไรทั้งหมดเพียงคนเดียว
- รักษาความลับของกิจการได้ดีเพราะผู้รู้มีเพียงคนเดียว
- มีข้อบังคับทางกฎหมายน้อย
- การเลิกกิจการทำได้ง่าย
ข้อเสีย
- การขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะเงินทุนมีจำกัด และถ้าต้องการกู้ยืมเงินจากภายนอกจะทำได้ยาก เพราะขาดหลักประกัน
- การตัดสินใจโดยเจ้าของกิจการเพียงคนเดียวอาจมีข้อผิดพลาดได้ง่าย
- ถ้ามีผลขาดทุน ผู้ประกอบการรับผลขาดทุน และรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่จำกัดจำนวนเพียงคนเดียว
- ระยะเวลาดำเนินงานมักไม่ยืนยาว ขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการ ถ้าเจ้าของกิจการป่วยหรือเสียชีวิตอาจหยุดชะงัก หรือเลิกกิจการ
- ความสามารถในการคิดและบริหารงานมีจำกัด เพราะเกิดจากเจ้าของเพียงคนเดียว
ห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนเป็นธุรกิจที่ต้องมีผู้ก่อการหรือหุ้นส่วน 2 คนขึ้นไป โดยมี 3 ประเภทคือ:
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นธุรกิจที่ไม่ต้องจดทะเบียนขึ้นเป็นนิติบุคคลดังนั้นจึงต้องเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา ในกรณีที่เกิดหนี้สิน หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบหนี้สินร่วมกันทั้งหมดโดยอาจให้หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ทั้งหมดก่อนก็ได้
- ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้เกิดจากการนำห้างหุ้นส่วนสามัญไปจดทะเบียนกับกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลและต้องเสียภาษีแบบนิติบุคคล มีผู้ตรวจสอบบัญชีจึงได้รับความน่าเชื่อถือจากคนภายนอกมากกว่า
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจึงต้องเสียภาษีแบบนิติบุคคล หุ้นส่วนแต่ละคนรับผิดชอบหนี้สินไม่เกินจำนวนเงินที่ตัวเองลงหุ้น มีความเชื่อถือเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเพราะได้รับการตรวจสอบบัญชีจากภายนอก
ข้อดีของห้างหุ้นส่วน
- สามารถระดมทุน และความรู้ของหุ้นส่วนแต่ละคนมาพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมีศักยภาพยิ่งขึ้น
- เสียภาษีน้อยกว่า หากห้างหุ้นส่วนได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว สามารถเสียภาษีในอัตราสูงสุดเพียง 30% จาก 37% เหมือนกับบริษัทจำกัด
- จำกัดรับผิดชอบหนี้สิน หากเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนแต่ละคนถูกจำกัดความรับผิดชอบหนี้สินด้วยส่วนที่ตนรับลงทุน ห้างประเภทนี้จึงเหมาะกับกิจการที่เสี่ยงต่อการขาดทุน
ข้อเสียของห้างหุ้นส่วน
- ข้อขัดแย้ง อาจเกิดข้อขัดแย้งในหมู่ผู้ร่วมหุ้น
- ข้อจำกัด มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น
- อุปสรรคในการถอนเงินทุน ถอนเงินทุนออกได้ยาก
บริษัทจำกัด
- จำนวนผู้เริ่มก่อการ - ต้องมีผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 3 คน
- เงื่อนไขเกี่ยวกับทุนและหุ้น - แบ่งทุนออกเป็นหุ้น โดยที่หุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน และหุ้นแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 5 บาทเช่น ถ้าบริษัทมีทุน 1 ล้านบาท และมีหุ้นทั้งหมด 1,000 หุ้น แปลว่าหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่า 1,000 บาท
- จำกัดความรับผิดชอบทางการเงินของผู้ถือหุ้น - ผู้ถือหุ้นแต่ละคนรับผิดชอบหนี้สินเฉพาะในส่วนที่ตนเองลงทุนและรับผิดชอบไม่เกินในส่วนที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบ
- การแบ่งปันผลกำไรขาดทุน - จ่ายเป็นเงินปันผลตามจำนวนหุ้นที่ผู้ถือครอง
- การเสียภาษี - เสียภาษีในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ กรณีเป็น SME เสียภาษีตามอัตราก้าวหน้าร้อยละ 15-30
- ความจำเป็นในการจดทะเบียน - ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ "บริษัทจำกัด" ต้องขึ้นจดทะเบียนและมีสถานะเป็นนิติบุคคล
ข้อดีของการจดทะเบียนรูปแบบบริษัท
- จำกัดความรับผิดชอบ ภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นกับบริษัทจะถูกจำกัดโดยจำนวนหุ้นที่คุณถือและไม่เกินในส่วนที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบ
- สามารถระดมทุนได้ เนื่องจากบริษัทถูกก่อขึ้นโดยจำนวนคนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จึงง่ายต่อการขยายกิจการ
- ภาพลักษณ์ที่ดีกว่า เนื่องจากมีกฏหมายเป็นตัวควบคุมและถูกวางกรอบขณะดำเนินธุรกิจอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้คนภายนอกไว้วางใจ "บริษัทจำกัด" มากกว่าธุรกิจประเภทอื่น
- เสียภาษีน้อยกว่า หากจัดตั้งธุรกิจเป็นบริษัทซึ่งถือว่าเป็นนิติบุคคลจะเสียภาษีในอัตราสูงสุดเพียง 30% เท่านั้น ในขณะที่หากเป็นธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาเช่น ร้านค้า จะมีโอกาสถูกเรียกเก็บภาษีสูงสุดถึง 37%
ข้อเสียของการจดทะเบียนรูปแบบบริษัท
- ผู้ประกอบการต้องมีความรู้เรื่องกฎหมาย บริษัทจำกัดต้องดำเนินกิจการภายใต้กรอบของกฎหมาย ดังนั้นผู้ประกอบการอาจเกิดความสับสนในการดำเนินกิจการหากไม่มีความรู้ในเรื่องกฎหมายธุรกิจ
- ไม่ยุติธรรม บางครั้งผู้ที่ทำงานมากที่สุดในธุรกิจนั้น อาจไม่ใช่ผู้ที่ถือหุ้นเยอะที่สุด แต่ต้องแบ่งรายได้ทุกอย่างตามสัดส่วนของหุ้นที่ตนเองเป็นเจ้าของจึงอาจเกิดความไม่ยุติธรรมขึ้นในธุรกิจนั้นๆ
- ต้องจัดทำบัญชีและเสียภาษี เมื่อจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว บริษัทจำกัดต้องส่งงบทางการเงินตามกฎหมายไปยังสำนักทะเบียนพาณิชย์เพื่อเปิด เผยต่อสาธารณชน ดังนั้นจึงต้องเสียเงินจ้างบริษัทบัญชีมาตรวจสอบ นอกจากนี้บริษัทจำกัดยังต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมายอีกด้วย
26 สิงหาคม 2563
ผู้ชม 34807 ครั้ง